ชีววิทยา

‘จุลพันธ์’ ถก ADB หนุนสินเชื่อเกษตรสีเขียว ช่วยเหลือทางวิชาการ ธ.ก.ส. 1.5 ล้านดอลลาร์

Nov 18, 2024 IDOPRESS
‘จุลพันธ์’ ร่วมถก ADB หนุนสินเชื่อเพื่อภาคการเกษตรสีเขียว และ SMEs ผ่านธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ เผย ADB เตรียมจัดสรรเงินช่วยเหลือทางวิชาการแก่ ธ.ก.ส. 1.5 ล้านดอลลาร์ พร้อมดำเนินการภายในสิ้นปีนี้

‘จุลพันธ์’ ร่วมถก ADB หนุนสินเชื่อเพื่อภาคการเกษตรสีเขียว และ SMEs ผ่านธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ เผย ADB เตรียมจัดสรรเงินช่วยเหลือทางวิชาการแก่ ธ.ก.ส. 1.5 ล้านดอลลาร์ พร้อมดำเนินการภายในสิ้นปีนี้

นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ร่วมหารือกับนายอานุช เมธา (Mr. Anouj Mehta) ผู้อำนวยการสำนักงานผู้แทนธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) ประจำประเทศไทยและคณะ เพื่อติดตามความคืบหน้าโครงการความร่วมมือเพื่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจสีเขียวและการสนับสนุนทางการเงินสำหรับธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

โดยผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ (SFIs) อันเป็นผลสืบเนื่องจากการหารือทวิภาคีระหว่างท่านนายกรัฐมนตรี กับนายมาซาสึกุ อะซาคาวา (Mr. Masatsugu Asakawa) ประธาน ADB เมื่อ 6 พฤศจิกายน 2567 ในห้วงการประชุมสุดยอดผู้นำแผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ ครั้งที่ 8 (The 8th GMS Summit)

นายจุลพันธ์เปิดเผยว่า ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธ.ก.ส. ให้ความสนใจกับการสนับสนุนเงินทุนสำหรับธุรกิจการเกษตรสีเขียว เพื่อสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ โดยจะสนับสนุนให้เกษตรกรและผู้ประกอบการในภาคการเกษตรสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อใช้ในการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ง่ายขึ้น ซึ่งทาง ADB อยู่ระหว่างการจัดสรรเงินช่วยเหลือทางวิชาการจำนวน 1.5 ล้านดอลลาร์ สำหรับการดำเนินงานดังกล่าว และคาดว่าจะสามารถเริ่มดำเนินการได้ภายในเดือนธันวาคม 2567

นายจุลพันธ์ ยังกล่าวเสริมว่า ธนาคารออมสิน และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) ได้มีการทำงานร่วมกับ ADB ในการดำเนินโครงการเพื่อสนับสนุนสินเชื่อให้กับธุรกิจที่ปล่อยคาร์บอนต่ำสำหรับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เพื่อให้ประเทศไทยสามารถบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2065

นอกจากนี้ ทาง ADB ยังมีแผนจะผสานการสนับสนุนจากกองทุนสภาพภูมิอากาศสีเขียว ซึ่งจะเสนอสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำสำหรับ SMEs เพื่อลดภาระดอกเบี้ยให้กับผู้กู้ โดยการสนับสนุนนี้ จะเป็นการผสมผสานเงินกู้จาก ADB และกองทุนอื่นๆ เพื่อช่วยลดต้นทุนดอกเบี้ยและเพิ่มโอกาสในการลงทุนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

อย่างไรก็ตาม นายจุลพันธ์ยังได้หารือในส่วนของการสนับสนุนเงินทุนเพื่อพัฒนาโครงการด้านสุขภาพ โดย ADB มีแผนสนับสนุนการพัฒนาโรงพยาบาลในพื้นที่ต่างๆ จำนวน 5 แห่ง ซึ่งขณะนี้ กระบวนการตรวจสอบและประเมินข้อมูลนั้นเสร็จสิ้นแล้ว แต่ยังมีการปรับการประมาณการต้นทุนใหม่ ซึ่งคาดว่ากระบวนการทั้งหมดจะแล้วเสร็จภายในปีนี้ ขณะที่โครงการด้านการบริหารจัดการน้ำท่วมซึ่งถือเป็นอีกโครงการสำคัญเพื่อรับมือกับปัญหาสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง คาดว่าจะสามารถดำเนินการขออนุมัติโครงการนี้ได้ภายในช่วงเดือนมิถุนายน หรือกรกฎาคมปี 2568